top of page

Movement Of Lives

Concept

Movement Of Lives เกิดจากการตีความของตัวผู้เล่นซึ่งตีความมาจากเเต่ละบทเพลง Percussion ที่มีรากฐานวัฒนธรรมที่เเตกต่างกัน โดยใช้การเต้น 2 เเบบที่มีความเเตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในเรื่องวัฒนธรรม ยุคสมัยหรือกะทั้งรูปเเบบการพัฒนาดนตรีระหว่าง Balkan ที่เป็นรูปเเบบวัฒนธรรมพื้นบ้าน กับ Funk ที่เป็นการพัฒนาดนตรีในยุคสมัยนั้น โดยรวบรวมเเละนำมาตีความให้เป็นรูปเเบบการเต้นต่างๆในเเนว Contemporary Dance ซึ่งเป็นการเต้นรูปเเบบใหม่ที่ใช้สไตล์ของ Jazz, Modern, classic bellet มาผสมผสานกัน เเละได้มีการพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งยังเป็นเเนวการเต้นที่นิยมกันมากในยุคสมัยนี้ 

โดยจะนำเสนอ นักเต้นผ่านเครื่อง Percussion Instrument

ซึ่งจะทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งในการฟังเเละการมองเห็นไปพร้อมกันทำให้อินถึงการเเสดงมากกว่าเดิม

 

Homo balcanicus - เป็นเพลงพื้นเมืองที่ประพันธ์โดย Zivkovic, Nebojsa ซึ่งเป็น Composer ชื่อดังในวงการ Percussion โดยส่วนตัวเเล้วเพลง Homo Balcanicus อิงมาจากเพลงพื้นเมืองของ Balkan ซึ่งเป็นที่ที่ ผู้ประพันธ์คนนี้ได้เติบโตมา เเละซึมซับวัฒนธรรมมาโดยตรง การเต้นของ Balkan ริเริ่มมาจากการเต้นประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา หรืองานฉลองต่างๆภายในหมู่บ้านหรืองานเลี้ยง ซึ่งเป็นการเต้นในรูปเเบบ Traditional dance คือการเกิดขึ้นมานานเเล้วเเละไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นได้โดยลักษณะการเต้นจะเป็นการเเบ่งกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง เเละก็จะเเยกออกมาเป็นคู่เเละเต้นคล้องเเขนกันเป็นคู่ๆไป

 

Funk or not so funk - funk เป็นดนตรีที่เกิดในยุค 1960 ที่นำดนตรี soul jazz r&b มาผสมผสานจังหวะเพื่อที่จะให้ชาว African American ในช่วงนั้นสามารถเต้นรำได้หลังจากการเลิกงานหรือเป็นการสังสรรค์รวมกลุ่มของคนผิวสีในช่วงนั้น ลักษณะการเต้นก็จะเป็นการเคลื่อนไหวทั้งตัว 

The Last Dance - โดยบทเพลงนี้ รูปเเบบเพลงเค้าจะไม่ตายตัวเช่น Time Signature ในเพลงก็จะมี 6/8 7/8 เป็นต้นเเละจะเปลี่ยนไปทุกๆห้อง โดยมีการใช้ลักษณะจังหวะในรูปเพลงของ Funk ก็จะเป็น 4/4 ซ่ะส่วนใหญ่หรือไม่ก็จะเเทรกบางท่อนด้วน Half Time ซึ่งเป็นปกติในรูปเเบบเพลงเเนวนี้

 

จากเพลงทั้งหมดที่ผมได้นำเสนอเเต่ละเพลงนั้นมี Form หรือ chracter ที่เเตกต่างกันรวมถึงที่มาที่ไปของเเต่ละเพลงนั้นไม่ได้มาจากเเหล่งที่มาเดียวกันเเต่โดยตัวของบทเพลงเเต่ละบทเพลงมันสามารถนำมาประยุคต์เเละตีความให้ผู้เล่นเเละผู้ชมได้เห็นถึงการเชื่อเเละสื่อสารกันของเเต่ละเพลง ทั้งนี้การเต้นยังช่วยให้เราเห็นภาพ Movement  ของเเต่ละเพลงได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพราะการเต้นไม่ได้มาเเทนที่การเล่นเเต่มาช่วยเสริมประสาทสัมผัสของผู้ชมที่ให้เข้าใจในเเต่ละท่วงท่าหรือท่อนที่ผู้เล่นจะสื่อ ทีนี้ผมได้เลือกเพลง The last danceเป็นตัวอย่างในการอธิบาย เพราะว่าในเพลงจะเเบ่งออกเป็น 2 ท่อนใหญ่ โดยที่ในเเต่ละท่อนจะมีการเเบ่ง Section นี้ก็จะมีท่าเต้นที่เเตกต่างกันออกไปอยู่เเละถึงเเม้ว่าเป็นท่อนเดียวกันก็ตาม อย่างท่อน A ในตอนเเรกผมไม่ได้ใส่ท่าเต้นลงไป เเต่กลับกันผมได้ใส่ท่าเต้นเข้าไปในท่อน A ที่2มันก็จะทำให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงความเเตกต่างหรือว่าความสอดคล้องกันของตัวบทเพลงกับท่าเต้นเเละรับรู้ถึงความเเตกต่างระหว่างการฟังอย่างเดียวกับการฟังที่มี การเต้นประกอบ นั้นอาจจะทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในขณะการรับชม ซึ่งในเเต่ละท่อนใหญ่ก็จะมีการรวมโน๊ตที่สำคัญเเละลักษณะที่เป็น Theme หลักของเพลงอยู่ ในท่อนเเรกผมจะตีความเพลงให้เป็น Funk โดยจะใช้ Materia ที่ได้รับนำมาประยุค เเละเนื่องมาจาก form ส่วนใหญ่นั้นเป็น simple time คล้ายคลึงกับ funk ส่วนในท่อนที่ 2ผมจะให้เป็น Balkan ซึ่งลักษณะท่อนนี้จะเป็น Complex Time เพราะว่าจะมีความยากในส่วนโน๊ตเเละ Time signature ที่ซับซ้อนอยู่ นั้นทำให้เพลงๆนี้เกิดการตีความใหม่เเละเกิดการผสมผสานกันระหว่างBalkan กับ Funk ได้อย่างลงตัว

\

©2019 Pawit Jidakitprasert

bottom of page